โครงการจานใบไม้ : การอบรมทักษะนวัตกรรมและผู้ประกอบเชิงวัฒนธรรมเส้นใยธรรมชาติ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

หมู่บ้านบางกะม่า ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี เป็นชุมชนชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยงขนาดเล็ก เดิมเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวแนวธรรมชาติเฉพาะกลุ่ม ซึ่งชุมชนบ้านบางกะม่ากำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างไปสุ่การเป็นเจ้าของกิจการลานสเตย์ ด้วยกระแสการท่องเที่ยว “ความเจริญ” และผู้คนจากภานนอกที่จะไหลบ่าเข้ามาในอนาคต ก่อให้เกิดความกังวลว่า อาจจะเกิดปัญหาเรื่องการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม การทำลายสภาพป่าที่เคยสมบูรณ์การจัดการขยะ และการกลืนกลายหายไปของวัฒนธรรมอันเป็นรากฐานของชุมชน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อเสริมสร้างทักษะการเป็นนวัตกรรมและผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรมให้กับสมาชิกของชุมชนชาติพันธุ์ไทยกะเหรี่ยงในพื้นที่ศึกษา
  2. เพื่อสร้างผลิตภัณพ์ / บริการเชิงวัฒนธรรมต้นแบบที่ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจรากฐานของชุมชน
  3. เพื่อฟื้นฟูและต่อยอดศิลปะวัฒนธรรมของชาวไทยกะเหรี่ยงโผล่วในพื้นที่ศึกษาให้สามารถแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ปัญหาใดปัญหาหนึ่งได้ (ในที่นี้ คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องการขาดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ และปัญหาความยากจนของคนบางกลุ่ม)

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการร่วมกับกลุ่มเป้าหมายเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 76 คน สมาชิกและผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 10 คน และผู้ประกอบการในชุมชน จำนวน 12 คน โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้

  1. ค่ายแผนที่พฤกษศาสตร์ คณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและคณะนักวิจัยเยาวชน
  2. การทดลองขึ้นรูปภาชนะในห้องปฏิบัติการ ดดยการใช้เครื่องอัดขึ้นรูปด้วยความร้อนและความดัน
  3. การถ่ายทอดทักษะนวัตกรรมภาชนะจากใบ้ไม้
  4. การอบรมทักษะการเป็นผู้ประกอบการ 

การที่กลุ่มผู้อาวุโสของชุมชนออกมาร่วมกันผลิตภาชนะช่วยประคองให้สุขภาวะทางกายและทักษะการคิดไม่เสื่อมถอย ได้ใช้ความคิดในการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาผ่านการทดลองขึ้นรูปใบไม้หลายชนิด รวมทั้งมีโอกาสได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขัดเกลาความงามของลวดลาย รูปร่างของภาชนะที่ขึ้นรูปอีกด้วย

การมีทักษะในการผลิตจานใบไม้ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุโครงการ ฯ ยังมีแผนที่จะสร้างระบบห่วงโซ่คุณค่าให้เกิดขึ้นกับสมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน โดยกลุ่มโรงเรียนเป็นผู้พัฒนาและออกแบบ (Research and Development) ภาชนะรุ่นใหม่ ๆ ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ทำหน้าที่หาและจัดเตรียมวัสดุ และขึ้นรูปภาชนะ นอกจากจะส่งขายให้กับผู้จัดงานประเพณีหรือกิจกรรมทางสังคมที่ต้องมีการจัดเลี้ยงอาหารแล้ว ยังมุ่งหวังให้ประชาคมผู้ประกอบการลานสเตย์ในพื้นที่บางกะม่ารับซื้อไปใช้ต่อ เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฯ ของชุมชนด้วย

การผลิตภาชนะใส่อาหารจากใบไม้ ใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ ช่วยลดภาระในการจัดการขยะให้กับชุมชนได้มากกว่า เพราะสามารถกองทิ้งไว้หรือรวบรวมไปฝังกลบจนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยบำรุงดินได้ในเวลาไม่นาน

การเลือกใช้ใบไม้ในพื้นที่เพื่อนำมาผลิตเป็นภาชนะนั้นสอดคล้องกับการผลัดเปลี่ยนของฟดูกาลใบไม้ดังกล่าว นับเป็นสิ่งเหลือใช้ของฟดูกาลใบไม้ร่วงหล่นลงมาตามธรรมชาติ หากไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ อาจกลายเป็นเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดไฟป่าในช่วงหน้าแล้งได้ และคำนึงถึงชนิดของใบไม้ที่มีความผูกพันกับวิถีความเป็นอยุ่ของชาวกะเหรี่ยงในอดีตที่มีความเคาระต่อธรรมชาติและภูมิปัญญาในการอยู่ร่วมกับป่าอีกด้วย

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

เศรษฐกิจ

  • สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่การผลิต อาทิ ผู้สูงอายุในชุมชน สามารถมีรายได้มากถึง 5,600 บาท / ปี
  • ภาพลักษณ์ที่ดีในการเป็นผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรมช่วยเสริมให้การบริการมีมูลค่าสูงขึ้น

สังคม

  • สุขภาวะของชุมชนดีขึ้น เนื่องจากมีวิธีการกำจัดขยะที่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษน้อยลง
  • ลดการเสื่อมถอยของการรับรู้จดจำ (cognitive) และกล้ามเนื้อร่างกายบางส่วนเพราะการได้ออกกำลังโดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
  • วิถีวัฒนธรรมกะเหรี่ยงที่อิงกับธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู

สิ่งแวดล้อม

  • มลภาวะจากการท่วมท้นของขยะภาชนะที่กำจัดได้ยากและควันพิษจากการเผาขยะดังกล่าวลดน้อยลง

สมาชิกทีม

  1. นางสาวปาลิตา พรรณพูนศักดิ์
  2. นางสาวพิชชากร ไชยศิริธัญญา
  3. นายณัฐภัทร วัชราภรณ์
  4. นางสาววิรากานต์ สมานคติวัฒน์

 

แชร์ข่าวสาร :