ลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่ามีจุดเด่นคือ เป็นชุมชนที่ยังมีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่โดดเด่น แบบฉบับชาวไทยขแมร์ลือโบราณยังประกอบอาชีพผลิตผ้าไหมซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาช้านาน ตั้งแต่การปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า สำหรับจากการลงพื้นที่ชุมชนบ้านลำดวน อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ พบปัญหาของชุมชนในการผลิตผ้าไหมของชุมชนบ้านลำดวน คือ บุคลากรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ความสามารถในการทอผ้าลดลง ขาดคนรุ่นใหม่มาสืบทอด กระบวนการผลิตยังไม่ได้มาตรฐาน ขาดการออกแบบลวดลายที่ทันสมัย การตลาดค่อนข้างแคบ ยังไม่มีช่องทางการตลาดแบบใหม่ ๆ การบริหารจัดการ ขาดการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย การวางแผน ขาดการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ ๆ รวมถึงโลโก้ บรรจุภัณฑ์ ที่เป็นอัตลักษณ์ของตนเอง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสํารวจข้อมูลผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของชุมชน
2. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นบนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของชุมชน
3. เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้การรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ในรูปแบบ online และ offline
การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัมนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
โครงการดำเนินร่วมกับกลุ่มทอผ้าหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 43 คน ซึ่งได้เริ่มกระบวนการตั้งแต่การศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล วางแผนร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหา ดำเนินกิจกรรมพัฒนา 5 กิจกรรม นำสู่การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และช่องทางการตลาด ทั้ง online และ offline โดยกิจกรรมมี ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้โดดเด่นและมีเอกลักษณ์
กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการย้อมสี ธรรมชาติ จากวัตถุดิบธรรมชาติในชุมชน
กิจกรรมที่ 3 แปรรูปการทำพวงกุญแจจากเศษผ้าไหม
กิจกรรมที่ 4 การอบรมการพัฒนาการบริหาร จัดการกลุ่ม บัญชี รายรับ-รายจ่าย
กิจกรรมที่ 5 การถ่ายทอดการออกแบบและการย้อมสีจากธรรมชาติให้เยาวชนในพื้นที่
ผลกระทบการดำเนินโครงการ
เศรษฐกิจ
- เกิดผลิตภัณฑ์จากการแปรรูปผ้าไหม
ลายผ้าลายใหม่ๆ จำนวน 25 ลาย - ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
ผ้าไหมไทย นกยูงสีทอง - ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพและ เพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ชุมชนมีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น
สังคม
- ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าไหม การสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าจากรุ่นสู่รุ่น
- ตระหนักถึงความสำคัญของผ้าไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์ไว้ ทำให้ผ้าไทยมีคุณค่าและเป็นที่ภาคภูมิใจของคนไทย
- ส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย และสนับสนุนการใช้ผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยเป็นสัญลักษณ์ของความรักชาติและวัฒนธรรมไทย
สิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าแบบดั้งเดิม ซึ่งใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ
- ลดการใช้สารเคมี ทำให้ผ้าไหมมีความเป็นธรรมชาติและปลอดภัยต่อผู้บริโภค เช่น การผลิตผ้าไหมมัดหมี่โดยใช้ไหมไทยแท้ 100%
- ย้อมสีธรรมชาติจากต้นไม้ เช่น ครั่ง แก่นขนุน แก่นแข ใบขี้เหล็ก ฯลฯ ทำให้ผ้าไหมของกลุ่มมีความโดดเด่นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สมาชิกทีม
(จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง)
แถวยืนด้านหลัง
1.) นางสาวอภิญญา ถานะปัดโถ
2.) อาจารย์ปิตวรรณ ฝ้ายโคกสูง
3.) นางสาวธัญญารัตน์ ยือรัมย์
4.) นางสาวภราพร เสือซ่อนพงษ์
5.) นางสาวอาทิตยา อินเสนา
6.) นางสาวกนกพร พระนารายณ์
7.) นางสาวพิมพ์พิสุทธิ์ เถียรในเมือง
8.) นางสาวพรนภา กางแม
9.) อาจารย์ ดร.ปัทมาวดี วงษ์เกิด
แถวนั่งด้านหน้า
1.) นางสาวอุรวี ทองสุขดี
2.) นายวีรพล ชึรัมย์
3.) ดร.วิษณุ ปัญญายงค์
4.) นายวัชเรส สุระพล
5.) นายธนวัฒน์ คุณเลิศ