โครงการดาวบนดิน ถิ่นวัฒนธรรม

มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

หมู่บ้านนาสะอุ้ง ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย ทำให้การเข้าถึงระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ หรือบริการจากภาครัฐเป็นไปได้ค่อนข้างลำบาก และเนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่บนไหล่เขา ทำให้มักจะขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งและเกิดอุทกภัยในช่วงฤดูฝนอยู่เป็นประจำ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านจากวัตถุดิบที่ผลิตได้ในชุมชน เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวและจำหน่ายเป็นของฝากทั้งในพื้นที่และระบบการตลาดออนไลน์
  2. เพื่อส่งเสริมให้หมู่บ้านเกิดการพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรม และผ้าพื้นเมืองของหมู่บ้าน
  3. เพื่อส่งเสริมให้หมุ่บ้านจัดทำแผนการดำเนินงาน และกระบวนการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีความเป็นอยู่ชาวถิ่นอย่างมีส่วนร่วมได้

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

ในการดำเนินโครงการในพื้นที่บ้านนาสะอุ้ง ฯ ได้ดำเนินการพัฒนาเชิงพื้นที่ตั้งแต่ปี 2558 – 2566 เพื่อสานสัมพันธ์ร่วมกันกับชุมชนและรับฟังความคิดเห็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน และนำประเด็นปัญหาและความต้องการสู่การวางแผนในการพัฒนาพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้

ระยะที่ 1 (ปี 2558 – 2560) ศึกษาข้อมูลและการสำรวจพลังแฝงที่ซ่อนอยู่ในโซนชุมชน

ระยะที่ 2 (ปี 2561 – 2563) ปลุกพลังแฝง สร้างมูลค่าให้กับชุมชน

ระยะที่ 3 (ปี 2563 – 2566) ประสานความร่วมมือสู่ความยั่งยืน

  • ค้นหาความต้องการและวางแผนชุมชนเริ่มการพัฒนาแหล่งน้ำ ทั้งในการเพิ่มแหล่งพลังงานโซลาร์เซลล์และการจัดทำฝายชะลอน้ำ ฝายน้ำล้น
  • การศึกษาดูงานจากแหล่งเรียนรู้ต้นแบบและฝึกอบรมความรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยวและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและการรวมกลุ่มการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน
  • การทำบัญชีครัวเรือนเพื่อรับรู้สถานะทางการเงิน
  • การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน การแปรรูปไม้ไผ่ การจักสานในรูปแบบใหม่ การหาตลาดสินค้าให้กับหมู่บ้าน
  • แปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้อนรับนักท่องเที่ยว
  • การปลุกกาแฟและการชงกาแฟที่เป็นซิกเนเจอร์ของหมู่บ้าน เพื่อนำมาขายในร้านค้าชุมชนเป็นแลนด์มาร์คของหมู่บ้าน
  • การจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบดดยการประชาสัมพันธ์ การทำสื่อ และการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบ้านนาสะอุ้งอย่างเป็นรูปธรรม

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

เศรษฐกิจ

  • การพัฒนาด้านดครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาระบบน้ำ และไฟฟ้าในชัมชน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอาชีพในด้านอื่น ๆ
  • คนในชุมชนมีรายได้การจำหน่ายผลผลิต ผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว ลดการพึ่งพารายได้หลักจากเกษตรกรรมเพียงทางเดียว

สังคม

  • เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนการมองและวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของตนเองนำไปสู่การแก้ไขอย่างตรงจุด
  • มีองค์ความรู้ในการต่อยอดการพัฒนาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยวชุมชน

สิ่งแวดล้อม

  • จัดทำฝายชะลอน้ำ ฝายน้ำล้น ในการช่วยยกระดับน้ำและเพิ่มความชุ่มชื่นของป่า
  • การใช้พลังงานธรรมชาติในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นส่วนช่วยลดปัญหาโลกร้อน

สมาชิกทีม

จากซ้ายไปขวา

1).นายปองภพ โตทรัพย์เจริญสุข

2).นางสาวรุจิเลข ฮ่องลึก

3).นางสาวปาณิสรา ฟองชัย

4).นางสาวจนิสตา มาแก้ว

5).นางสาวณัฐญานี วงษ์ขันธ์

6).นายฐฺ๖ฺคม คนยง

7).นายภาณุพงศ์ ทับไกรลาส

8).นายชีฮาน สายเส็น

แชร์ข่าวสาร :