“ โครงการรากแก้ว ” เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษา
ทั่วประเทศนำความรู้ของนิสิตนักศึกษา ความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ตลอดจนองค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ ของสถาบันอุดมศึกษามาประยุกต์ใช้อย่างบูรณาการ
โดยการจัดทำโครงการบริการวิชาการและบริการชุมชนของสถาบันฯ ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและมาตรฐานการครองชีพให้แก่ชุมชนและสังคมอย่างเป็นรูปธรรมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ประสบการณ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการพัฒนาและเข้าร่วมโครงการรากแก้วถือเป็นกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน เปิดโอกาสให้ นิสิตนักศึกษาได้สัมผัส เรียนรู้ และเข้าใจปัญหาของชุมชนและสังคม และพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของนิสิตนักศึกษา เช่น ทักษะชีวิต การคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการ การสื่อสาร ความเป็นผู้นำ ตลอดจนปลูกฝังความเป็นพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถนำความรู้ที่เรียนและประสบการณ์ที่ได้รับจากการทำโครงการไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง เติบโตเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพพร้อมที่จะทำประโยชน์ สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน สังคม ประเทศชาติได้
- สร้างกระบวนการเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพเยาวชนให้เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้าใจปัญหาสังคม มีจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม และสามารถนำความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ศักยภาพด้านต่าง ๆ มาพัฒนาโครงการเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
- ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การทำงานร่วมกับชุมชน การฝึกวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาให้ชุมชนอย่างยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาทักษะที่จำเป็นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตให้กับนิสิตนักศึกษา เพื่อให้มีความพร้อมเข้าสู่โลกการทำงาน
- เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศได้นำองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของคณาจารย์ที่ปรึกษา ตลอดจนทรัพยากรในสถาบันอุดมศึกษามาสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ถือเป็นการส่งเสริมและบูรณาการพันธกิจด้านการเรียนการสอน งานวิจัย ด้านบริการวิชาการและบริการชุมชนของสถาบันอุดมศึกษา หรือการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำ และลดความยากจนในสังคมไทย
.
- ได้เรียนรู้และเข้าใจปัญหาสังคมจากการเรียนรู้นอกห้องเรียนร่วมกับชุมชน ทำให้เกิดจิตสำนึกในการทำประโยชน์ให้ผู้อื่น
- ได้นำความรู้ความสามารถที่เรียนมาแก้ไขปัญหาจริงร่วมกับชุมชนและสังคมผ่านการทำโครงการพัฒนา และมีเวทีการนำเสนอผลงานต่อสาธารณะชน
- ได้พัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการ การแก้ปัญหาและทำงานเป็นทีม เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานหลังจบการศึกษา
- ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน และเหมาะสมกับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง
- สามารถนำโครงการมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอนนอกห้องเรียน หรือพัฒนาเป็นรายวิชา เช่น วิชาการศึกษาทั่วไป เป็นต้น
- นำงานวิจัยมาทบทวน และปรับให้สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมอย่างแท้จริง
.
.
- ได้โครงการบริการวิชาการที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนและสังคม สามารถแก้ปัญหา
และลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้อย่างยั่งยืน - ได้เครื่องมือในการพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีจริยธรรม มีภูมิคุ้มกัน มีจิตสำนึกและสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมและประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน
- ได้เรียนรู้และพัฒนาศักยภาพร่วมกับนิสิตนักศึกษา และอาจารย์เพื่อพัฒนาชุมชนของตน เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตให้กับชุมชน
- ส่งเสริมพลัง และศักยภาพด้านต่าง ๆ อันนำไปสู่การพึ่งพาตนเอง ความเข้มแข็งและความสามัคคีของคนในชุมชน
- ชุมชนมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
.
.
- ได้พลเมืองที่มีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถแก้ไขปัญหา และสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมได้อย่างยั่งยืน และเพิ่มความมั่นคงของประเทศ