โครงการ SoChange&SoCHAMP

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ในปัจจุบันเราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ายังคงมีนักเรียน นักศึกษา และผู้คนในสังคมอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีโอกาศได้เข้าถึงการศึกาา เข้าถึงโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านครอบครัว ปัญหาทางด้านการเงิน หรือแม้แต่ปัญหาของตนเองและสภาพแวดล้อมทางสังคม

วัตถุประสงค์

พื้นที่ดำเนินการ

  1. มุ่งเน้นการเปิดโอกาสเรียนรู้ในพื้นที่จริงและนำความรู้ไปต่อยอด
  2. มุ่งเน้นการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างทัศนคติมุมมองด้านการประกอบอาชีพ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการศึกษา
  3. มุ่งเน้นการนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชนจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งสร้างแกนนำเด็กและเยาวชนเพื่อความยั่งยืน
  1. แหล่งเรียนรู้ภายใน อ.เมือง อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
  2. โรงเรียนบ้านสว้า ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน
  3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  4. กลุ่มเด็กและเยาวชนของกองทุนเพื่อการศึกษาฯ มจธ.

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

จากปัญหาดังกล่าวจึงนำมาสู่ความสนใจของนักศึกาา ที่ร่วมกันทำงานกับ KMUTT Social Lab เพื่อสำรวจสถานการณ์และปัญหาจากผู้บริหารโรงเรียนผ่านทางการประชุม จนนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มในนาม “กลุ่มนักศึกษา SoChange (Social Chamge)” ที่รวบรวมนักศึกษาที่มีความสนใจในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ในพื้นที่ห่างไกลร่วมกับ KMUTT Social Lab กว่า 30 คน จาก 4 คณะ 8 ภาควิชา มาร่วมกันนำความรู้และประสบการณ์ มาพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนทั้งผู้คนในสังคม สำหรับกลุ่มเป้าหมายใน 4 พื้นที่ โดยการดำเนินกิจกรรม ดังนี้

โครงการ SoCHAMP (Social Change Agent Maker Program) การสนับสนุนและส่งเสริมการลงพื้นที่จริงให้กับกลุ่มนักศึกษา Sochange

โครงการ SoChange #1 (ค่ายอาสาสร้างแรงบันดาลใจทางการศึกษา Nanspiration)

โครงการ SoChange #2 (เปิดดลกความสุขเล็ก ๆ บนพื้นที่ไกลเกินเอื้อมของ มจธ.)

โครงการ SoChange #3 (โครงการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ดีสำหรับเด็กและเยาวชนของกองทุนเพื่อการศึกษา ฯ SeedScape)

ผลกระทบการดำเนินโครงการ

  เศรษฐกิจ

  • ค่าแรงของนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาจาก มจธ. เพิ่มมากขึ้นหลังจากเรียนจบ เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำหากไม่ได้รับการศึกษา โดยเพิ่มขึ้นกว่าเดือนละ 4,500 บาท
  • แผนการดำเนินดครงการของนักศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนเพิ่มจาก 1 เป็น 3 โครงการ

สังคม

  • นักเรียนชั้น ม.3 ที่เข้าร่วมดครงการมีการศึกษาต่อในระดับชั้น ม.4, ปวช., กศน. ทั้งหมด ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยโดยทั่วไปที่  70% 
  • นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการค่ายบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ดีทั้งหมดยังคงรับทุนการศึกษาจาก มจธ. ในระดับชั้นที่สูงขึ้นไป
  • นักศึกษาให้ความสนใจในการเข้าชมนิทรรศการเพื่อชุมชนและสังคมถึง 182 คน เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 100 คน

สิ่งแวดล้อม

  • จากแบบประเมินผลพบว่าหัวข้อการนำความรู้ในกลุ่มอาชีพที่สนใจไปใช้ได้ซึ่งรวมถึงการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน มีค่าเแลี่ยสุงถึง 4.17 เต็ม 5 
  • มีการปรับเปลี่ยนการใช้ทรัพยากรในการจัดกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นถึง 80%

สมาชิกทีม

แถวที่ 1 (หลังสุด) : 1).นายชวนากร จันทร์เพ็ญ 2).นายอภิสิษธ์ชัย กิจเจริญค้า 3).นางสาวนริศ ถนอมทรัพย์

แถวที่ 2 : 1).นางสาวณชวรท กาญจนสุธา 2).นางสาวชนากานต์ คงทน 3).นางสาวภคมน ตระการกิตติกล 4).นายสิรวิชญ วัฒโน 5).นางสาวสุดารัตน์ ร่มสุข 6).นายพีรสันติ ทัฬหะกาญจนกล 7).นายเพชรรัตน์ เต็มศักดิ์ดี

แถวที่ 3 : 1).นาวสาวดลนภัส ภัทร์ทวีกุล 2).นางสาวเยาวลักษณ์ อรุณรุ่งอารีย์ 3).นางสาวสุพิชฌาย์ นุ่นประสิทธิ์ 4).นางสาวปาณิตา ฐานะเลิศสกุล

แถวที่ 4 : 1).นางสาวกรรณิการ์ ยืนยงค์ 2).นายศุภกร รักนะ 3).นายปฐวิกานต์ บุญมี 

แถวที่ 5 : 1).(หน้าสุด) 1).นางสาวปภาวรินท์ แายแหลมหลัก 2).นางสาวญาณิศา พวงทอง 3).นายชวัลวิทย์ ปรัตถพงศ์

แชร์ข่าวสาร :