สภาพปัญหาเกิดจากการที่นักศึกษาได้เข้าไปสำรวจอาหารกลางวันในหลาย ๆ โรงเรียนของจังหวัดเชียงใหม่ โดยการสุ่มตรวจสารพิษตกค้างในผักที่นำมาประกอบอาหารกลางวัน พบว่า ส่วนมากมีสารพิษตกค้าง ซึ่งส่วนมากรับซื้อมาจากตลาดหรือผ่านพ่อค้าคนกลาง ดังนั้น ทางสถานศึกษาเองจึงต้องการองค์ความรู้การทำการเกษตรอย่างเป็นระบบ ความรู้เกี่ยวกับอาหารปลอดภัย เพื่อสอดแทรกให้นักเรียนในแผนการจัดการเรียนรู้ โครงการพัฒนาผู้เรียนและการสร้างความตระหนักให้กับผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องในการจัดการอาหารกลางวันให้ได้มาตราฐาน สะอาด และปลอดภัย
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างต้นแบบครูน้อยให้มีสมรรถนะและความพร้อมผ่านการเรียนรู้เชิงบริการและสร้างสรรค์ชุมชน
- เพื่อนำองค์ความรู้ ประสบการณ์และเทคโนโลยีด้านเกษตรและอาหารในสวนเกษตรครูน้อยไปพัฒนาระบบอาหารชุมชนในโรงเรียนเพื่อสุขภาวะที่ดี
การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)
นักศึกษาคณะครุศาสตร์ฯ ในหอพักของมหาวิทยาลัยฯ ได้เข้าร่วมโครงการสวนเกษตรครูน้อย ที่ดำเนินการในเรื่องการเกษตรอินทรีย์ การแปรรูปอาหารและสมุนไพร การตลาดสร้างรายได้ สร้างแหล่งเรียนรู้ ฝึกทักษะ นำไปสู่การจัดทำแผนการเรียนรู้เรื่องอาหารกลางวันปลอดภัย นำไปใช้พร้อมสื่อเรียนรู้ “อาหารดีพี่สอนน้อง” ร่วมกับครูและนักเรียนในการทำสวนเกษตรของนักเรียน รวมถึงการตรวจสอบสารพิษในผักอาหารกลางวัน การล้างสารพิษในผัก การเลี้ยงไก่ไข่ โภชนาการเมนูอาหารกลางวัน การประกอบอาหารกลางวัน การอบรมผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กับผู้ปกครอง การเปิดสวนเกษตรให้นักเรียน ครู เกษตรกร มาเรียนรู้กิจกรรมในสวน พัฒนาคุณภาพการศึกษาและวิชาชีพครู
ครูน้อยส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารกลางวันให้นักเรียน เช่น โปรตีนราคาถูกจากไก่ไข่ สวนผัก สวนกล้วย มะละกอ ฝรั่ง ฟักทอง นาข้าวในโรงเรียนและส่งเสริมการใช้พื้นที่ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยปลูกพืชอาหารลดรายจ่ายอาหาร ส่งเสริมอาหารกลางวัน
ครูน้อยส่งเสริมสุขภาวะที่ดีด้วยการสร้างแนวปฏิบัติด้านการผลิตแหล่งอาหารปลอดภัย โภชนาการตามวัย และการสร้างสุขภาวะเกษตรและอาหารโรงเรียนและชุมชนผ่านอาหารกลางวัน
ครูน้อยส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการบริการวิชาการสู่ชุมชน ครูน้อยเป็นต้นแบบผู้จัดการเรียนรู้ด้านเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยขยายการเรียนรู้จากสวนเกษตรไปสู่โรงเรียนและชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย
ครูน้อยใช้ประโยชน์จากสวนเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกทักษะ เกิดรายได้ใช้พื้นที่มหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและนำผลได้ไปปรับใช้ในโรงเรียนและชุมชนให้เกิดรายได้ ลดรายจ่ายอาหารกลางวัน
ผลกระทบการดำเนินโครงการ
เศรษฐกิจ
- การทำสวนเกษตรในโรงเรียนลดค่าจ่ายอาหารกลางวันโรงเรียนได้ 20% มีผักปลอดภัย มีไข่ไก่เสริมโปรตีน
- นักศึกษาครูน้อยลดค่าใช้จ่ายอาหารได้ 15% โรงเรียนนักเรียนมีรายได้จากการจำหน่ายผักและผลิตภัณฑ์แปรรูปเดือนละ 1,000 บาท
สังคม
- นักเรียนและครูมีแผนจัดการเรียนรู้เกษตรและอาหาร ความรู้เฝ้าระวังคุณภาพอาหารในสถานศึกษา ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมระบบอาหารสถานศึกษาทั้งในโรงเรียนและสวนเกษตรครูน้อย
- โรงเรียน มหาวิทยาลัย และผู้ประกอบการอาหารในโรงเรียนเห็นความสำคัญของอาหารกลางวันปลอดภัยและมีคุณค่าโภชนาการ
สิ่งแวดล้อม
- สวนเกษตรครูน้อยไม่ใช้สารเคมี เกษตรผลผลิตและพื้นที่ปลอดภัยเมื่อนำไปขยายผลในโรงเรียนก็เน้นเกษตรอินทรีย์
- ใช้การกำจัดศัตรูพืชด้วยสมุนไพรท้องถิ่น เศษขยะและเศษอาหารดรงอาหาร มูลสัตว์จากเกษตรกรในชุมชนนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ
- สนับสนุน แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green) และ SDGs
สมาชิกทีม
จากซ้ายไปขวา
- นายอภิสิทธิ์ วงค์แสง
- นางสาวสัจมาศ ทองประดิษฐ์
- นายเทิดศักดิ์ เจริญเจ้าสกุล
- นางสาวจินดารัตน์ แสงทอง
- นายยุทธพงศ์ งามยิ่ง