โครงการตรวจจับน้ำมันรั่วด้วยเซนเซอร์ความจุไฟฟ้า

มหาวิทยาลัยทักษิณ

จากการสำรวจพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เป็นชุมชนที่ติดแหล่งน้ำทั้งน้ำจืด และน้ำทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ออกเรือหาปลา วางแหปลากระบอก ปัญหาหลักที่พบคือ แหล่งน้ำเสีย ส่งกลิ่นเหม็น ซึ่ง 1 ใน สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาคือ มีการปนเปื้อนของคราบน้ำมันที่มาจากการประกอบอาหาร เรือจากการทำประมง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับความเสียหายทั้งด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิตและด้านอาชีพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านในชุมชนเก้าเส้งมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีสิ่งเเวดล้อมที่ปลอดภัย

2. เพื่อพัฒนานวัตกรรมจากการเรียนรู้ในห้องเรียนนำไปสู่การช่วยเหลือคนในชุมชน

3. เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนเก้าเส้งเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์สิ่งเเวดล้อม

การดำเนินการแก้ไขปัญหา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs)

ลงพื้นที่สำรวจชุมชนเก้าเส้งฯ พบว่ามีปัญหาคราบน้ำมันปนเปื้อน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตและสุขภาพของคนในชุมชน จึงเก็บตัวอย่างน้ำจากพื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ จากนั้นออกแบบและสร้างเซนเซอร์ความจุไฟฟ้าในการตรวจจับน้ำมันรั่วไหล และเชื่อมต่อกับ Application Line เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล นำเซนเซอร์ไปตรวจสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการ ทดลองใช้เซนเซอร์ในแหล่งชุมชนเก้าเส้ง โดยติดตั้งในแหล่งน้ำของชุมชน พร้อมทั้งมอบองค์ความรู้เกี่ยวกับเซนเซอร์และสร้างความตระหนักรู้ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับชาวบ้านในชุมชน นำคำแนะนำมาปรับปรุงแก้ไขเซนเซอร์ ติดตั้งและติดตามผลเซนเซอร์อย่างต่อเนื่อง 1 สัปดาห์/ครั้ง โดยการสำรวจคุณภาพของเซนเซอร์ และความเสื่อมสภาพของวัสดุที่ใช้ในการสร้างเซนเซอร์ สำรวจความพึงพอใจและสรุปผลความพึงพอใจของชาวบ้านเพื่อนำไปพัฒนาต่อไป โดยมีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ชาวบ้าน ในชุมชนเก้าเส้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 200 ครัวเรือน

เป้าหมายที่ 6 : สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสําหรับทุกคนและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนคนผู้จัดทําต้องการลดปัญหาการสร้างความเสียหายต่อแหล่งน้ำที่มีสาเหตุมาจากการการรั่วไหลของน้ำมันและการปนเปื้อนของน้ำมันในแหล่งน้ำ  โดยใช้เซนเซอร์ที่มีคุณสมบัติในการตรวจจับคราบน้ำมันในแหล่งน้ำธรรมชาติได้แบบ Real time เพื่อลดการกระจายของน้ำมันในวงกว้างและลดการสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในแหล่งน้ำ

ผลกระทบการดำเนินครงการ

  • แหล่งน้ำมีความปลอดภัย ลดความเสียหายแก่ธุรกิจการประมง
  • ยกระดับรายได้ของชุมชนจากแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ที่ได้รับการปกป้องอย่างยั่งยืน
  • ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
    ในท้องถิ่น
  • คุณภาพชีวิตชาวบ้านในชุมชนดีขึ้น
  • เกิดการรวมกลุ่ม พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้
    ซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่การป้องกันปัญหาการรั่วไหลของน้ำมัน
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในชุมชน
  • ชาวบ้านมีแหล่งน้ำที่สะอาด อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ปลอดภัยต่อการใช้ทำกิจวัตรในชีวิตประจำวัน
  • เยาวชนและประชาชนเกิดการตระหนักถึงความสำคัญและร่วมกันอนุรักษ์แหล่งน้ำมากขึ้น
  • ระบบนิเวศแหล่งน้ำและสัตว์น้ำ
    อุดมสมบูรณ์

สมาชิกทีม

1. นายสันติพงศ์ บุญราศี 

2. นางสาวนูรฟากีฟ อาบ๊ะ

3. นางสาวณัฐนิชา คนหมั่น 

4. นางสาวนิตติยา ญวนพลการ

แชร์ข่าวสาร :